วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5



วันพุธที่  4  ธันวาคม  พ.ศ. 2556




                การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอเกมส์การศึกษาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ของแต่ละกลุ่ม  มี 5 กลุ่ม   คือ   จำนวนและการดำเนินการ   รูปทรงเรขาคณิต   การวัด  พีชคณิต   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ดังนี้


      

            กลุ่มพีชคณิต




           กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มนี้นำเสนอ คือ หาภาพที่หายไปมาเติมในช่องว่างที่กำหนดให้  ที่คิดว่ามันสัมพันธ์กัน  เช่น มีช่องว่างให้เติม 


ช่องที่  1 เป็น แมว   ช่องที่ 2 เป็น ลิง   ช่องที่ 3 เป็น ไก่ช่องที่ 4 เป็น แมว   ช่องที่ 5 เป็น ลิง    ช่องที่ 6 เป็น.....


กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น




         กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่นี้นำมาเสนอ คือนำลูกปิงปอง สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน มารวมกันแล้ว สุ่มจับมาหนึ่งลูก  ทายว่าจะออกมาสีไหน  สีส้ม  สีขาว หรือ  สีน้ำเงิน

          ถ้าสมมติว่า  ลูกปิงปอง  2 สี คือ ส้ม กับ แดง  ถ้าถามเด็กว่า ครูจะจับออกมา 1 ลูก เด็กๆคิดว่าจะจับได้สีไหน  เด็ก จะตอบไม่เหมือนกัน 


กลุ่มการวัด 





     กิจกรรมของกลุ่มที่นำเสนอ  คือ  นำรูปภาพมาให้เพื่อนๆเปรียบเทียบ  ความยาว  น้ำหนัก   ปริมาตร
เช่น  ช้างกับหนู อะไรมีน้ำหนักมาก-น้ำหนักน้อย  
                
หมายเหตุการสอนเด็ก เกี่ยวกับการวัด ถ้าจะให้ดีที่สุดควรมีของจริงมาให้ดูและสัมผัสจริงๆ       


กลุ่มรูปทรงเรขาคณิต 




         กิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มนี้นำเสนอ คือ  นำรูปทรงต่างๆ มาให้เพื่อนๆดู คือ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม  รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยมคางหมู  รูปห้าเหลี่ยม  รูปหกเหลี่ยม  เพื่อนกลุ่มเรขาคณิต ก็ยังให้เพื่อนในห้องได้เล่นได้ต่อ รูปทรงที่เขานำเสนอด้วย




กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ




ก่อนจะนำเสนอกิจกรรมเพื่อนกลุ่มนี้เพลงมาให้เพื่อนๆร้องและทำท่าทางประกอบด้วย 


เพลง ออกกำลังกาย

                                      ชูมือซ้าย  ชูมือขวา แล้วตบมือพร้อมกัน
                                  กระโดดขึ้นส่ายตัวไป  แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
                                               1 2 3  4  5 6 7 8 9 10



        กิจกรมที่เพื่อนกลุ่มนี้นำเสนอ คือ  นำชิ้นส่วนของสัตว์มาประกอบเข้าด้วยกันให้ถูกต้อง  ซึ่งจะแยกส่วนหัวออกจากส่วนตัว แล้วให้เพื่อนที่เป็นตัวเเทนนำมาประกอบเข้ากับตัวสัตว์นั้นๆ  เช่นหัวไก่ต้องคู่กับตัวไก่  เป็นต้น
  

กิจกรรมในวันนี้  คือ  อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น  และวาดรูปวงกลมกลางหน้ากระดาษวาด แล้วเขียนตัวเลขที่ชอบไว้ตรงกลาง  แล้วนำกระดาษมาทำเป็นดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เขียน ซึ่งตัวเลขที่ชอบเเละที่เขียนคือ  เลข 5  ได้ดอกไม้ออกมาดังนี้


Golden flowers




ประโยชน์

          นำเกมที่เพื่อนนำเสนอไปบูรณาการใช้ในการเรียนการสอนและในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 



วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วันพุธที่  27  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556



วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม มีหัวข้อดังนี้

                           1. จำนวนและการดำเนินการ
                           2. รูปทรงเรขาคณิต
                           3. การวัด
                           4. พีชคณิต
                           5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ

       จำนวนและการดำเนินการ  คือ  การรวมและเเยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง







กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรงเรขาคณิต  หมายถึง  รูปที่มีส่วนเป็นพื้นผิว   ส่วนสูง  และส่วนลึก  หรือหนา


รูปทรงเรขาคณิตสามารถนำใช้เป็นการเรียนการสอนผ่านการเล่นของเด็กแล้วให้เด็กได้ใช้จินตนาการ  เช่น  นำรูปทรงสามเลี่ยม  รูปทรงสี่เหลี่ยม  มาประกอบเป็นบ้าน ฯลฯ





ซึ่งการนำเสนอของกลุ่มนี้มีตัวอย่างรูปทรงของจริงให้ดู





 กลุ่มการวัด  (กลุ่มดิฉันค่ะ)





        การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร


  หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ  



การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง  เรียกว่า  การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ  SI  มี  7  หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน  ( basic  quantity ) ได้แก่

เมตร         ( Meter : m )                                    เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg )                         เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที      ( Second : s )                                    เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์  ( Ampere : A )                                  เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน     ( Kelvin : K )                                      เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd )                               เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล        ( Mole : mol )                                     เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร



ตัวอย่างการวัด






กลุ่มพีชคณิต

            พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย 


กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


            ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   

( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก 

ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน 
               
             ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม 

              ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้

ตัวอย่างที่เพื่อนนำเสนอ  เช่น จงหาว่าเสื้อกับกางเกงจับคู่ได้กี่ชุด  มีเสื้อ 2 ตัว และกางเกง 1 ตัว ดังนั้นก็  ได้เสื้อกับกางเกง 1 ชุด



ประโยชน์ที่ได้รับ

            สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการจัดประสบการณ์ทางคณิตสาสตร์ให้เด็กได้รับความรู้ ความสนุกสนาน  เพื่อพัฒนาพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี 




วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอินุทิน ครั้งที่ 3



วันพุธที่  20  พฤศจิกายน   พ.ศ.  2556

                  การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มีเนื้อหาดังนี้


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1 การสังเกต  (Observation)
การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2 การจำแนกประเภท (Classifying)
การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3 การเปรียบเทียบ (Comparing)
เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4 การจัดลำดับ (Ordering)
เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์


5 การวัด (Measuremwnt)
มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น **

6 การนับ (Counting)
เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน 

กิจกรรม
              วาดรูปสถานที่ๆเราเดินผ่านมาเรียนก่อนที่จะถึงห้องเรียน  3   สถานที่ๆเป็นจุดเด่นๆ  คือ  ร้านนมปั่น   ตลาด   เซเว่น  ดังนี้ค่ะ



ความรู้ที่ได้
           สอนเด็กให้เป็นคนช่างสังเกต   สอนเด็กเน้นที่ความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ  และนำไปบูรณาการใช้ได้กับทุกวิชา



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


วันพุธที่  13  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


               การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วอาจารย์ก็ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะที่สุด พาทำเสร็จอาจารย์ยังให้ทำรองเท้าให้สัตว์ที่เราวาด

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     
          ความหมายคณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ  โดยใช้ ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน  และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ  จำนวน  ตัวเลข การคิดคำนวณ 


ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนและประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget

 1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสต่างๆ  (แรกเกิด -2 ปี)

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
- สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้

2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (2-7 ปี)

- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด  น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
- เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐาน เช่น  การเล่นขายของ  พ่อค้า แม่ค้า  คนซื้อ  คนขาย  เป็นต้น

การอนุรักษ์  (Conservation)  คือ การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุง และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผล

พัฒนาการอนุรักษ์ได้

- โดยการนับ
- จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
- เรียงลำดับ
- จัดกลุ่ม

หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยกัน อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


กิจกรรม

      วาดรูปสัตว์ที่มีเท้าเยอะที่สุด  ผลงานที่ได้ค่ะ








วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน  2556

                    วันนี้อาจารย์เบียร์ได้อธิบายถึงรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วให้นักศึกษาทำ mind map โดยนำความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาสรุปเป็นแผนผังความคิด  ดังนี้