วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม มีหัวข้อดังนี้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. รูปทรงเรขาคณิต
3. การวัด
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
2. รูปทรงเรขาคณิต
3. การวัด
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
กลุ่มจำนวนและการดำเนินการ
จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวมและเเยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
รูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนเป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา
รูปทรงเรขาคณิตสามารถนำใช้เป็นการเรียนการสอนผ่านการเล่นของเด็กแล้วให้เด็กได้ใช้จินตนาการ เช่น นำรูปทรงสามเลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม มาประกอบเป็นบ้าน ฯลฯ
ซึ่งการนำเสนอของกลุ่มนี้มีตัวอย่างรูปทรงของจริงให้ดู
กลุ่มการวัด (กลุ่มดิฉันค่ะ)
การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร
หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ
การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง เรียกว่า การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ SI มี 7 หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน ( basic quantity ) ได้แก่
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง เรียกว่า การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ SI มี 7 หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน ( basic quantity ) ได้แก่
เมตร ( Meter : m ) เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg ) เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที ( Second : s ) เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์ ( Ampere : A ) เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน ( Kelvin : K ) เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd ) เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล ( Mole : mol ) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg ) เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที ( Second : s ) เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์ ( Ampere : A ) เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน ( Kelvin : K ) เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd ) เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล ( Mole : mol ) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร
ตัวอย่างการวัด
กลุ่มพีชคณิต
พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย
กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข
( 0 ถึง 1 ) ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน
ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์ มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม
ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
ตัวอย่างที่เพื่อนนำเสนอ เช่น จงหาว่าเสื้อกับกางเกงจับคู่ได้กี่ชุด มีเสื้อ 2 ตัว และกางเกง 1 ตัว ดังนั้นก็ ได้เสื้อกับกางเกง 1 ชุด
ประโยชน์ที่ได้รับ
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการจัดประสบการณ์ทางคณิตสาสตร์ให้เด็กได้รับความรู้ ความสนุกสนาน เพื่อพัฒนาพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น