วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอินุทิน ครั้งที่ 3



วันพุธที่  20  พฤศจิกายน   พ.ศ.  2556

                  การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มีเนื้อหาดังนี้


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1 การสังเกต  (Observation)
การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2 การจำแนกประเภท (Classifying)
การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3 การเปรียบเทียบ (Comparing)
เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4 การจัดลำดับ (Ordering)
เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์


5 การวัด (Measuremwnt)
มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

** การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น **

6 การนับ (Counting)
เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน 

กิจกรรม
              วาดรูปสถานที่ๆเราเดินผ่านมาเรียนก่อนที่จะถึงห้องเรียน  3   สถานที่ๆเป็นจุดเด่นๆ  คือ  ร้านนมปั่น   ตลาด   เซเว่น  ดังนี้ค่ะ



ความรู้ที่ได้
           สอนเด็กให้เป็นคนช่างสังเกต   สอนเด็กเน้นที่ความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ  และนำไปบูรณาการใช้ได้กับทุกวิชา



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


วันพุธที่  13  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


               การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วอาจารย์ก็ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะที่สุด พาทำเสร็จอาจารย์ยังให้ทำรองเท้าให้สัตว์ที่เราวาด

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     
          ความหมายคณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ  โดยใช้ ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน  และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ  จำนวน  ตัวเลข การคิดคำนวณ 


ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนและประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget

 1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสต่างๆ  (แรกเกิด -2 ปี)

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
- สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้

2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (2-7 ปี)

- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด  น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
- เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐาน เช่น  การเล่นขายของ  พ่อค้า แม่ค้า  คนซื้อ  คนขาย  เป็นต้น

การอนุรักษ์  (Conservation)  คือ การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุง และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผล

พัฒนาการอนุรักษ์ได้

- โดยการนับ
- จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
- เรียงลำดับ
- จัดกลุ่ม

หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยกัน อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


กิจกรรม

      วาดรูปสัตว์ที่มีเท้าเยอะที่สุด  ผลงานที่ได้ค่ะ








วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน  2556

                    วันนี้อาจารย์เบียร์ได้อธิบายถึงรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วให้นักศึกษาทำ mind map โดยนำความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาสรุปเป็นแผนผังความคิด  ดังนี้